ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย รวมถึง การตีความ การบังคับใช้ กฎหมาายแพ่งและพาณิชย์ กำหมายอาญา ระบบตุลาการ กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและทางอาญา

คำอธิบายรายวิชา

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ทางฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เบื้องต้น
การสืบค้นและการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การสื่อสารในยุคดิจิทัล การทำธุรกรรมออนไลน์ สังคมออนไลน์ การเรียนรู้และการสืบค้นจากสื่อดิจิทัล การวิเคราะห์และรู้เท่าทันสื่อ นำเสนอในรูปแบบดิจิทัล ผลกระทบ ความปลอดภัย คุณธรรมจริยธรรม และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล

พัฒนาทักษะการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติ
หน้าที่การงาน  สร้างนิสัยรักการอ่าน   การค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง   การจดบันทึกสิ่งที่ได้ฟังหรืออ่าน  ตลอดจนการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน   ฝึกทักษะการนำเสนอความรู้และความคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ (การใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน   หมายถึง   การเลือกเรื่อง  การวางโครงเรื่อง  การยกร่าง  การแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับ  การตรวจทาน  การปรับให้เป็นฉบับจริง

มคอ.3.pdfมคอ.3.pdf

ศึกษาระบบงานคลังของหน่วยงานของรัฐและท้องถิ่น การจัดการการคลังส่วนท้องถิ่นในมิติของรายได้ รายจ่าย และเงินอุดหนุน การพึ่งตนเองทางการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างการคลังและเศรษฐกิจท้องถิ่น  หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานคลังและงบประมาณท้องถิ่น การวิเคราะห์แผนและโครงการเพื่อการจัดสรรงบประมาณ การควบคุมงบประมาณและการตรวจสอบ การวิเคราะห์งบดุลคลังท้องถิ่นข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่น

ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย วิวัฒนาการของสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การเลือกผลิตสื่อการเรียน และของเล่นเด็กปฐมวัย การประเมินผลการตรวจสอบสื่อ และของเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก บทบาทของครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมการใช้สื่อ และของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดบริการห้องสมุดของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

มคอ-3 สื่อการเรียนรู้.docมคอ-3 สื่อการเรียนรู้.doc

จิตวิทยาที่ใช้สำหรับในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู จิตวิทยาการเรียนรู้ และการแนะแนว

นักทฤษฎีจิตวิทยา.docxนักทฤษฎีจิตวิทยา.docx

                                                     มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา
วิทยาลัยชุมชนตาก สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย                                    หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชารหัสวิชา ศษ 0104                                        ชื่อวิชา บุคลิกภาพครูปฐมวัย
     (Personality of Early Childhood Teachers)
2. จำนวนหน่วยกิต        3(2-2-5)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา    อนุปริญญาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย           ข.หมวดวิชาเฉพาะ 1. วิชาพื้นฐานวิชาชีพ
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์…สุพัตรา…ณัฐชวรัตน์……………………หน่วยจัดการศึกษา  ปางมะผ้า
อาจารย์………………………………………………………หน่วยจัดการศึกษา.....................................................
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ …………………… ปีการศึกษา ......................................... ชั้นปีที่ ........................
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
       ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
        ไม่มี
8. สถานที่เรียน
    หน่วยจัดการเรียนรู้ปางมะผ้า
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
     วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

                                       หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
     1.1 มีความรู้ ความเข้าใจความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพสำหรับครูปฐมวัย
      1.2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของครูปฐมวัย การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
       1.3 มีความรู้และทักษะในการพัฒนาบุคลิกภาพของครูปฐมวัย เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
        1.4 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐาน ความรู้ในประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล เป็นต้น
                                      หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
         ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของครูปฐมวัย ครูปฐมวัยกับการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณลักษณะของครูปฐมวัย คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูปฐมวัย มนุษย์สัมพันธ์ของครูปฐมวัย การสื่อสารของครูปฐมวัยกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ครูปฐมวัยกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ฝึกปฏิบัติการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อความเป็นครูปฐมวัยที่พึ่งประสงค์
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา


3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (วัน....................) เวลา ........................................น.
E-mail: ………………………………………….. Facebook : ……………………………………………………………
                        หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรมจริยธรรม
           คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
       (1) มีความรัก ความเมตตา และปรารถนาดีต่อเด็ก
       (2) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ดูแลเด็ก
       (3) ประพฤติตนตามจรรยาบรรณของผู้อบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก
    วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้
       (1) ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
        (2) จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ
        (3) การยกตัวอย่างกรณีศึกษาและให้อภิปรายร่วมกัน
        (4) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับวิทยาฯ และชุมชนของตนเอง
     วิธีการประเมินผล
         (1) การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
         (2) ประเมินกิจกรรมจากสภาพจริง
    2. ความรู้
        ความรู้ที่จะได้รับ
      (2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยา พัฒนาการ การเรียนรู้และการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
      (6) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก
   วิธีการสอน
    (1) การบรรยายและอภิปรายโดยผู้สอน
    (2) กระบวนการสืบค้นด้วยตนเอง
    (3) การมอบหมายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
    (4) การฝึกปฏิบัติการ
    (5) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี
  วิธีการประเมินผล
    (1) การใช้แบบทดสอบ
    (2) การทำแบบฝึกหัด
     (3) การประเมินผลจากการทำงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
   3. ทักษะทางปัญญา
   ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
    (1) แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
     (3) มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์     (4) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
วิธีการสอน
 (2) การจัดสถานการณ์จำลอง
(3) การมอบหมายงาน
(4) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(5) การฝึกปฏิบัติการ
วิธีการประเมินผลทักษะทางปัญญาของนักศึกษา
(1) การนำเสนอผลงาน
(2) ผลงานที่ได้รับมอบหมาย/รายงาน
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องการพัฒนา
• (1) มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
• (2) ทำงานร่วมกับครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์
• (5) มีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
วิธีการสอน
(1) มอบหมายให้ทำโครงงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนด
(2) แทรกประสบการณ์จริงของอาจารย์ในระหว่างการสอน โดนผ่านการเล่าเรื่องต่างๆ ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นในวิชาที่เรียน
วิธีการประเมิน
(1) การสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(2) การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
• (1) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
• (2) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้และการสื่อสาร
• (4) มีความสามารถนำเสนอ และอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
วิธีการสอน
(1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข่าว บทความ ด้วยตนเองจาก Website และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
(2) นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
วิธีการประเมิน
(1) ประเมินความก้าวหน้า ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ทักษะการจัดการเรียนรู้
• (3) มีความสามารถปฏิบัติงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย
วิธีการสอน
(1) จัดกิจกรรมการเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด
(2) การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(3) ฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ จากสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง
การประเมินผล
(1) ประเมินการนำเสนอผลงาน
(2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการเรียนการสอน
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
ครั้งที่
หัวข้อ / รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรม
การเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการสอน
1-2
1-2
(ต่อ)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นครู
1.1 องค์ประกอบของความเป็นครู
1.2 ความหมายของครู/อาจารย์
1.3 ประเภทของครู
1.4 ความสำคัญของความเป็นครูต่อการพัฒนาเยาวชน สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม
8
- แนะนำเกี่ยวกับรายวิชา การมอบหมายงาน การวัดและการประเมินผล
- บรรยายในหัวข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นครู
- นักศึกษาวิเคราะห์บทความเกี่ยวกับความเป็นครูในสถานการณ์ปัจจุบัน
- สื่อ PowerPoint
- แนวการจัดการเรียนรู้
- บทความ
- ใบความรู้
3-6
บทที่ 2 คุณลักษณะของครูที่ดี
2.1 คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
2.2 คุณลักษณะของครูที่ดีตามพระราชดำรัสและพระราโชวาท
2.3 คุณลักษณะของครูต้นแบบ
2.4 คุณลักษณะของครูที่ดีในยุคโลกาภิวัฒน์
16
- บรรยายในหัวข้อคุณลักษณะของครูที่ดี
- นักศึกษาชมภาพยนตร์เรื่องคิดถึงวิทยา (หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู) และวิเคราะห์คุณลักษณะของครูที่ดี
- นักศึกษาทำกิจกรรมในใบงาน
- สื่อ PowerPoint
- ใบความรู้
- ใบงาน
- สื่อ ภาพยนตร์ เรื่อง คิดถึงวิทยา
7-10
บทที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาบุคลิกภาพครูปฐมวัย
3.1 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย
3.2 คุณวุฒิครูปฐมวัย
3.3 บทบาทของครูปฐมวัย
16
- อาจารย์ให้นักศึกษาสำรวจบุคลิกภาพของตนเอง
- บรรยายในหัวข้อ การเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาบุคลิกภาพครูปฐมวัย
- อาจารย์จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูปฐมวัย
- นักศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของบุคลิกภาพของครูปฐมวัย และแสดงบทความสมมติตามสถานการณ์ที่กำหนดในใบงานและร่วมกันอภิปราย
- สื่อ PowerPoint
- ใบความรู้
- สถานที่ศึกษาดูงาน
- แบบทดสอบ
ครั้งที่
หัวข้อ / รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรม
การเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการสอน
- ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีครูต้นแบบ
- ทดสอบความรู้ระหว่างเรียน
11-13
บทที่ 4 คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
4.1 ความหมายและความสำคัญของคุณธรรม/จริยธรรม
4.2 หลักพุทธธรรมเพื่อความเป็นครู
4.3 การพัฒนาคุณธรรม/จริยธรรมของครู
4.4 การเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อวิชาชีพครู
4.5 จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
4.6 สมรรถนะหลักของครู
12
- บรรยายในหัวข้อ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
- นักศึกษาค้นคว้าจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- นักศึกษาจัดทำใบงาน
- สื่อ PowerPoint
- ใบความรู้
- กฎหมาย/พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับครู
- ใบงาน
14-15
บทที่ 5 ประชาคมและบุคคลแห่งการเรียนรู้
5.1 ความหมาของประชาคมแห่งการเรียนรู้
5.2 หลักการสร้างประชาคมแห่งการเรียนรู้
5.3 ประเภทของแหล่งความรู้
5.4 รูปแบบการจัดแหล่งเรียนรู้
5.5 ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
8
- อาจารย์บรรยายในหัวข้อ ประชาคมและบุคคลแห่งการเรียนรู้
- ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
- นักศึกษาฝึกปฏิบัติศึกษากรณีตัวอย่างในชุมชนด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในชุมชน และจำลองสร้างแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
- สื่อ PowerPoint
- วัสดุการสร้างแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
- สถานที่ศึกษาดูงาน
- ใบความรู้
16
สอบปลายภาค
2
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ที่
กิจกรรม
ผลการเรียนรู้
สัปดาห์
ที่ประเมิน
สัดส่วนของ
การประเมินผล
1
การเข้าชั้นเรียนและคุณธรรมจริยธรรมและบุคลิกภาพระหว่างเรียน
1.1, 1.2, 1.3
1-15
10%
2
วิเคราะห์บทความเกี่ยวกับความเป็นครูในสถานการณ์ปัจจุบัน
3.4, 3.3, 4.1, 5.1, 5.4,
1-5
5%
3
การมอบหมายงานในชั้นเรียน
3.1, 4.2
7-10
10%
4
ค้นคว้าจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
3.1, 4.2, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4,
12-13
10%
5
ฝึกปฏิบัติศึกษากรณีตัวอย่างในชุมชนด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในชุมชน และจำลองสร้างแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
3.4, 3.3, 4.5, 5.2, 6.3
14-15
20%
6
ทดสอบความรู้ระหว่างเรียน
2.2, 2.6
10
15%
7
สอบปลายภาค
2.2, 2.6
16
30%
หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. ตำราและเอกสารหลัก
ยนต์ ชุ่มจิต. 2553. ความเป็นครู self actualization for teachers. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ.
บุญส่ง วงค์คำ. 2555. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การศึกษาปฐมวัย. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และ กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2574
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
ฉวี วิชญเนตินัย. 2542. บุคลิกและการปรับตัว. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วิจิตร อาวะกล. 2542. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ โรงพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
ศิริกุล ตัณฑุลารักษ์. 2543. ทฤษฎีบุคลิกภาพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : กาญจนบุรี.
สุจิตรา พรหมมชาธิป. 2540. มนุษยสัมพันธ์. โรงพิมพ์ยะลา : ยะลา.
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
เวปไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น http://www.obec.go.th
หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
1.1 ประเมินผลท้ายคาบเรียน
1.2 ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็ปไซต์ก่อนสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3 การประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
1.1 การวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
1.2 การวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การปรับปรุงการสอน
1.1 ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
1.2 ประเมินการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
1.3 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานและการให้บริการทางวิชาการ
1.4 พัฒนาสถานที่และสื่ออุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน
1.5 การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา (มคอ.5) และวิเคราะห์ผลจากการรายงานมาปรับปรุงการสอน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
4.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา โดยการประเมินข้อสอบโดยเจ้าหน้าที่วัดผล และกรรมการสภาวิชาการที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งคณะอาจารย์จากแต่ละหน่วยจัดการศึกษาร่วมกันออกข้อสอบ สร้างเกณฑ์การประเมินผลในแต่ละรายวิชาร่วมกัน
4.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา โดยการติดตามผลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา และการตอบแบบประเมินหรือสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเกี่ยวกับความพึงพอใจในผู้สำเร็จการศึกษาที่ตบการศึกษาและทำงานในสถานประกอบการ
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
5.1 รวบรวมข้อเสนอแนะ/ข้อมูลจากการประเมินนักศึกษา
5.2 วิเคราะห์ ทบทวนข้อมูลข้างต้นโดยผู้รับผิดชอบหลักสูตร




มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา
วิทยาลัยชุมชนตาก สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา
รหัสวิชา ศษ 0104 ชื่อวิชา บุคลิกภาพครูปฐมวัย
(Personality of Early Childhood Teachers)
2. จำนวนหน่วยกิต
3(2-2-5)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
อนุปริญญาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ข.หมวดวิชาเฉพาะ 1. วิชาพื้นฐานวิชาชีพ
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์………………………………………………………หน่วยจัดการศึกษา.....................................................
อาจารย์………………………………………………………หน่วยจัดการศึกษา.....................................................
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ …………………… ปีการศึกษา ......................................... ชั้นปีที่ ........................
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
8. สถานที่เรียน
8.1 หน่วยจัดการศึกษา วิทยาลัยชุมชนตาก
8.2 หน่วยจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว
8.3 หน่วยจัดการศึกษาโรงเรียนท่าสองยางวิทยาคม
8.4 หน่วยจัดการศึกษาโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
8.5 หน่วยจัดการศึกษาโรงเรียนพบพระวิทยาคม
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คำอธิบายรายวิชา

ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของครูปฐมวัย ครูปฐมวัยกับการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณลักษณะของครูปฐมวัย คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูปฐมวัย มนุษย์สัมพันธ์ของครูปฐมวัย การสื่อสารของครูปฐมวัยกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ครูปฐมวัยกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ฝึกปฏิบัติการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อความเป็นครูปฐมวัยที่พึ่งประสงค์

ศึกษาขอบเขต ความหมาย ความสําคัญของสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา ครัวเรือน สร้างสังคมท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีการศึกษาชุมชน นโยบายเพื่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

การศึกษาเกี่ยวกับวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยเน้นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์เป็นผู้นำทางธุรกิจทุกระดับ เน้นการพูดติดต่องานธุรกิจ การเข้าร่วมประชุมและเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม การตัดสินใจทางธุรกิจ การจูงใจ การเกลี้ยกล่อม การเจรจาต่อรอง การเข้าสังคม การพัฒนาบุคลิกภาพของนักธุรกิจทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ โดยเน้นการใช้หลักธรรมในทางศาสนาและจิตใจ มีการฝึกปฏิบัติและรู้จักทำการวิเคราะห์ การประเมินตนเอง การวางแผนพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานอย่างมีความสุข


ศึกษาความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของ นิทานและหุ่น ประเภทของนิทานและหุ่น การแต่งนิทานและเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยการสร้างหุ่น ชนิดต่าง ๆ และโรงหุ่น การเขียนบทเชิดหุ่น หลักการเชิดหุ่นและพากย์หุ่น การแสดงละครหุ่น

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร การจัดการและการใช้งานข้อมูล  การใช้โปรแกรมระบบและโปรแกรมประยุกต์   ฝึกการสืบค้น การสื่อความหมายและการนำเสนอ  บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และจากระบบฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูล     คุณธรรม  จริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ